วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

บทที่ 2 จิตวิทยาการรับรู้ การเรียนรู้และจิตวิทยาพัฒนาการ

............การรับรู้ เป็นกระบวนการแปลความหมายระหว่างประสาทสัมผัสกับระบบประสาทของมนุษย์ ที่ใช้อวัยวะรับสัมผัสสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทำให้ส่วนของประสาทสัมผัสในอวัยวะนั้น ส่งผลเชื่อมโยงไปยังสมอง และสมองจะถอดรหัสนั้นไปยังระบบประสาท ทำให้เกิดการรับรู้และรู้สึกจิตวิทยาการรับรู้ เป็นเหตุการณ์ความรู้สึกที่เป็นผลจากกิจกรรมของเซลล์สมอง เป็นลักษณะหนึ่งของจิตแต่ไม่ใช่จิตทั้งหมด
.......จิตวิทยาการเรียนรู้
..การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์ เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้องค์ประกอบของการเรียนรู้
1. สติปัญญาของผู้รับรู้ ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว
2. ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส
3. ความสนใจ การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น
4. สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้น
......พฤติกรรมการเรียนรู้
.....จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
1. พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ
2. จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง
3. ทักษะพิสัย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงานการเรียนรู้กับการเรียนการสอนในการสอนที่ดี ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์ เช่น
1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง
2. การทราบผลย้อนกลับ การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่างๆ
3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ
4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยาก
....จิตวิทยาพัฒนาการ
.....เป็นจิตวิทยาแขนงหนึ่งที่มุ่งศึกษามนุษย์ทุก วัยตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก เจตคติ พฤติกรรมการแสดงออก สังคม บุคลิกภาพ ตลอด จนสติปัญญาของบุคคลในวัยต่างกัน เพื่อให้ทราบถึงลักษณะพื้นฐาน ความเป็นมา จุดเปลี่ยน จุดวิกฤตในแต่ละวัย